งานราชการล่าสุด

คุณรู้ไหม รั้วกินได้ " ผักตำลึง ผักข้างรั้วอินทรีย์ที่แท้จริง "

20 ก.ค. 2558 เวลา 22:09 น. 2,903 ครั้ง

คุณรู้ไหม รั้วกินได้ " ผักตำลึง ผักข้างรั้วอินทรีย์ที่แท้จริง "



นำเสนอข่าวโดย > ทีมงานจ๊อบไทยดีดี ดอทคอม
ในบรรดาพืชผักที่เป็นที่นิยมและรู้จักของคนไทย เชื่อแน่ว่าคงมีไม่กี่คนที่ไม่รู้จัก “ผักตำลึง” โดยเฉพาะชาวชนบททั่วทุกภาคของไทย เรามีผักชนิดนี้ขึ้นประดับผืนไร่ สวนข้างรั้วหลังบ้าน หน้าบ้าน เป็นไม้เถาที่มากประโยชน์ ขึ้นง่ายกับที่ดินทุกชนิด โดยเฉพาะย่างเข้าหน้าฝน จะอวดยอดอวบอ้วนพร้อมมือจับที่ม้วนงอ แกว่งไหวกระดุกกระดิกคล้ายส่ายเสาะหาที่เกาะปีนป่ายขึ้นอวดโฉม

ตำลึง
ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Coccinia grandis Voigt. หรือ Coccinia indica
อยู่ในวงศ์ CUCURBITACEAE
มีชื่อเรียก เช่น ภาคเหนือเรียก “ผักแคบ” อีสานเรียก “ผักตำนินหรือตำนิน” กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอนเรียก “แคเดาะ” แต่ที่แน่ๆ ทั่วไปเรียก ตำลึง หรือ 4 บาท ก็มาตราค่าเงินไทย 25 สตางค์ เป็น 1 สลึง 4 สลึง เป็น 1 บาท 4 บาท เป็น 1 ตำลึง 20 ตำลึง เป็น 1 ชั่ง ไงละครับ สมัยก่อนผักตำลึง คงมีค่าราคาเช่นเงินตั้ง 4 บาท เชียวนะ

จริงหรือที่มีคนเล่าว่า ถ้ากินยอดตำลึงหน้าฝนจะเป็นไข้ ปวดท้อง คนเก่าแก่ในชนบทเล่าให้ฟังเหมือนกันว่า หน้าฝนยิ่งมีฝนตกหนักๆ ไปเก็บยอดตำลึงมาต้มแกงกินจะมีอาการไข้ ไม่สบาย ปวดท้อง เห็นกันมาบ่อยๆ ก็เล่าต่อกันมา จริงเท็จอย่างไร มาช่วยกันไขปริศนานี้ให้ได้ทีน่า

จากทฤษฎีร้อน เย็น ซึ่งเป็นความเชื่อมาตั้งแต่สมัยกรีกโบราณ แพร่หลายมาสู่พ่อค้าชาวอาหรับ ชาวสเปน และกลายเป็นความเชื่อขั้นพื้นฐานของการแพทย์แบบดั้งเดิม และในปัจจุบันทฤษฎีร้อน เย็น ยังมีแพร่หลายอยู่ทั่วไป จีน ญี่ปุ่น เกาหลี อินเดีย และแถบละตินอเมริกา ในทฤษฎีร้อน เย็น กล่าวถึงอาหารคือ อาหารร้อน จะมีฤทธิ์กระตุ้น เช่น อาหารรสเผ็ด รสหวาน อาหารทอด อาหารเย็น จะมีฤทธิ์ยับยั้งทำให้ร่างกายรู้สึกเย็นจนกลายเป็นวัฒนธรรมการกินเกี่ยวพันถึงพืชที่เป็นอาหารด้วย เมื่ออาหารร้อน เช่น พริก พริกไทย กะเพรา แมงลัก พืชอาหารเย็น เช่น ฟักเขียว มะระ แตง ผักกระเฉด ผักบุ้ง และผักตำลึง เป็นต้น


ฤดูร้อน ความร้อนธรรมชาติจะเพิ่มความร้อนจะกระทบร่างกายเป็นมูลเหตุให้ธาตุไฟในร่างกายกำเริบ ปวดศีรษะ วิงเวียน อ่อนเพลีย ร้อนใน ท้องผูก ถ้ากินอาหารที่เป็นพืชอาหารร้อนจะยิ่งเป็นผลกระทบ ทำให้ร่างกายเจ็บป่วยได้ ฤดูฝน ความเย็นและชื้นมีผลต่อธาตุลมในร่างกาย ธรรมชาติความเย็นจะทำโทษร่างกาย มักจะเจ็บป่วยได้ ควรกินพืชอาหารร้อนช่วย แต่ถ้ากินพืชอาหารเย็นจะยิ่งส่งให้ร่างกายเจ็บป่วยได้ คงจะตอบโจทย์ที่ว่า กินตำลึงหน้าฝนจะป่วยไข้ ปวดท้องนะ มีส่วนเป็นไปได้ เพราะฉะนั้นพอสรุปได้ว่า ใช้พืชอาหารร้อน เย็น ช่วยระงับการกำเริบของธาตุในร่างกายไม่ให้แปรปรวนได้ ธรรมชาติร้อนก็กินพืชอาหารเย็นช่วยดับการกำเริบธาตุไฟ เช่น ผักตำลึง เป็นต้น

ผักตำลึง เป็นพืชเถาที่คนนิยมนำมาปรุงอาหาร ลวก ต้ม นึ่ง จิ้มน้ำพริก แกงส้ม แกงจืดผักตำลึง ผัดผักตำลึงใส่ไข่ แม้แต่อาหารยอดฮิตก๋วยเตี๋ยวตำลึง ชามละ 45 บาทแล้ว ประโยชน์ทางโภชนาการ ยอดอ่อนนำมาปรุงอาหารให้วิตามินเอ วิตามินบี 1 บี 2 วิตามินซี ไนอะซิน เหล็ก ฟอสฟอรัส แคลเซียม เส้นใย (ไฟเบอร์) ให้พลังงานแก่ร่างกาย ตำลึง 100 กรัม ให้พลังงานถึง 35 กิโลแคลอรี สรรพคุณทางยา เถาตำลึงเป็นยาเย็นดับพิษ ตัดยาวประมาณ 1 นิ้ว คลึงให้ช้ำ แล้วเป่าอีกทางจะเป็นฟองฟู่ออกมา ใช้หยอดตา แก้ตาช้ำ ตาแดง ปวดตาได้ดีมาก ใบตัวผู้ผสมเป็นยาเขียวแก้ไข้ ใบสดๆ ขยี้ทาถอนพิษหมามุ่ย หรือพิษจากขนใบไม้พิษทั่วไป แก้คัน แก้ปวดแสบ ปวดร้อน ราก ต้มน้ำดื่มให้ลดความร้อนในร่างกาย แก้ไข้ทุกชนิด อีกสารพัดคุณประโยชน์ ต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันความเสื่อมของเซลล์ บำรุงผิวพรรณ เถาแก่ ต้มน้ำหรือคั้นผลดิบดื่มกินรักษาโรคเบาหวาน โรคโลหิตจาง บำรุงกระดูก เพราะมีแคลเซียม บำรุงสายตา เพราะมีวิตามินเอ รักษาป้องกันจอประสาทตาเสื่อม ตาแดง ตาฟาง ตาช้ำ ราก ต้มน้ำดื่มรักษาตาฝ้า ฯลฯ

ลักษณะต้นตำลึง เป็นไม้ล้มลุกเช่นเดียวกับแตง น้ำเต้า ฟักข้าว ฟัก แฟง ลำต้นเป็นเถาทอดเลื้อยไปตามดิน และมีมือจับ (Tendril) คล้ายลวดสปริง เกาะปีนป่ายสิ่งที่อยู่ใกล้ เวลาถูกลมพัดจะแกว่งไหวไปมา ลำต้นอ่อนมีขนาดเล็กต้องอาศัยยึดเกาะไปอย่างนั้น แต่ถ้าปล่อยไว้ให้หลายปีจะมีเถาที่โตขนาดข้อมือคนเราก็มี ใบตำลึง มี 2 ชนิด คือ ชนิดที่มีแฉกเว้าลึกมาก เรียกว่า “ตำลึงตัวผู้” ส่วนใบที่ขอบใบไม่เว้าลึก เรียก “ตำลึงตัวเมีย” มีดอกสีขาวโตประมาณครึ่งนิ้ว มักจะแยกตัวเมียมีรังไข่ ก้านดอกเป็นรูปคล้ายผลอ่อน สามารถนำมากินได้อร่อยด้วย ผลสดสีเขียวประจุดขาว กลมรีคล้ายแตงไทย แตงกวา แต่เป็นผลเล็กๆ แก่มาจะมีสีส้มและแดงจัด นกชอบจิกกินแล้วไปถ่ายมูลทิ้งเกิดต้นใหม่ จึงพบต้นตำลึงอยู่ทั่วไป
การปลูกตำลึง นอกจากจะปล่อยให้นกกินแล้วถ่ายมูลงอกเป็นต้นใหม่แล้ว มีคนต้องการให้ขึ้นเป็นที่ ข้างรั้วหรือขึ้นหลักไม้ กิ่งไม้ที่ว่าง ก็นำผลแดงๆ ไปบี้เอาเมล็ดหยอดไว้ ไม่กี่วันก็ขึ้น หรือจะปลูกเป็นแปลงใหม่ก็อาศัยเข่งหรือสุ่มไก่เก่าไปวางเป็นระยะๆ หาผลตำลึงแดงๆ ไปบีบหยอดเมล็ด หรือตัดเถาแก่ไปวางไว้ กลบดินบางๆ ให้น้ำ ก็ได้แปลงตำลึง ยิ่งหมั่นเด็ดยอดจะยิ่งได้ยอดใหม่ให้เด็ด
ที่มา อดุลศักดิ์ ไชยราช มติชนออนไลน์ วันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

แชร์ข่าวนี้ ให้เพื่อนคุณ และติดตามเราได้ที่ Fanpage.
ติดตามข่าวบน Facebook กด Like เพื่อไม่พลาดข่าว !!!
ศูนย์ข่าวสารงานราชการ ข่าวเปิดสอบราชการ ตำแหน่งงานว่างอัพเดทให้ทุกวัน ติดตามที่นี่ www.jobthaidd.com
ข่าวที่น่าสนใจตอนนี้ กรมทรัพยากรน้ำ เปิดรับสมัครสอบบรรจุเข้ารับราชการ 68 อัตรา


กรมสรรพสามิต เปิดรับสมัครสอบบรรจุเข้ารับราชการ 123 อัตรา


กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เปิดรับสมัครสอบเป็นพนักงานราชการ 129 อัตรา


บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) รับสมัครบุคคลเข้าทำงานเพื่อปฏิบัติงาน 164 อัตรา


กรมเจ้าท่า เปิดรับสมัครสอบบรรจุเข้ารับราชการ 43 อัตรา


หนังสือติวสอบ ก.พ. พร้อมติวและเฉลยข้อสอบจริง ก.พ. (ภาค ก) 67


สำนักงาน ก.พ. เปิดรับสมัครสอบ ภาค ก (Paper & Pencil) ประจำปี 2567


หนังสือ สรุปครบตรงประเด็น เตรียมสอบ ก.พ.


กสถ.เตรียมเปิดรับสมัครสอบท้องถิ่น 2567 จำนวน 65 ตำแหน่ง 4,010 อัตรา แล้ว!!



ผู้สนับสนุน เว็บไซต์พันธมิตร

งานล่าสุด >>

^